ว่านไพลดํา สรรพคุณและประโยชน์

ว่านไพลดํา
ขอบคุณภาพจาก clib.psu.ac.th

ลักษณะของว่านไพลดำ

โดยที่ต้นว่านไพลดำถือว่าหนึ่งในต้นไม้ประเภท ต้นไม้ยืนต้น เป็นสมุนไพรไทยอีกหนึ่งชนิดที่มีสรรพคุณทางยาซ่อนเอาไว้มากมาย โดยเป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ขึ้นเป็นกอ ความสูงของต้นประมาณ 1.5 – 3 เมตร และอาจสูงได้ถึง 5 เมตร โดยในส่วนของเหง้าจะอยู่ใต้ดิน เนื้อภายในเหง้าเป็นสีม่วง สีม่วงจางๆ หรือสีม่วงอมน้ำตาล มีกลิ่นฉุนร้อนคล้ายไพล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ต้องใช้ดินที่มีสีดำในการปลูก (ถ้าเป็นสีอื่นปลูกจะทำให้ต้นตาย เพราะว่านชนิดนี้เจริญงอกงามได้ในดินสีดำเท่านั้น) พบขึ้นได้ตามป่าเขตร้อนชื้น

ในส่วนใบว่านไพลดำ จะมีลักษณะที่โดดเด่น และถูกจัดให้อยู่ในประเภทใบเดี่ยว ความพิเศษก็คือจะออกเรียงสลับกันไปมา ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบเรียว โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6 – 8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 26 – 30 เซนติเมตร แผ่นใบหนา เส้นกลางใบเป็นร่องสีเขียวอ่อน ด้านล่างและเส้นกลางใบมีขน ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น มีสีม่วงคล้ำ กาบใบซ้อนกันแน่น ไม่มีขนหรือมีบ้างประปราย ลิ้นใบยาวที่ปลายกาบใบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายมน

สรรพคุณของว่านไพลดำ

ว่านไพลดำ ถือว่าเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณมากมาย และได้ถูกนำมาเป็นส่วนผสมสำหรับการทำยาสามัญทั่วไปมากมาย โดยที่สรรพคุณหลักๆ ที่สามารถได้รับจากว่านไพลดำโดยตรงนั่นก็คือ

  • ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะและยาบำรุงกำลัง (ทั้งต้น)
  • เหง้าสดนำมาบดให้เป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้รับประทานเช้าและเย็น วันละ 2 – 3 เม็ด เป็นยาช่วยเจริญอาหาร แก้ธาตุพิการ (เหง้า)
  • รากมีรสขื่นเอียน สรรพคุณเป็นยาแก้เลือดกำเดาออกทางปาก ทางจมูก (ราก)
  • ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด (ราก)
  • ใช้เป็นยาแก้บิด ขับลม ด้วยการใช้เหง้าสดนำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วนำมาใช้กิน (เหง้า)
  • ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารเป็นพิษ (ทั้งต้น)
  • เหง้าสดนำมาต้มใส่เกลือเล็กน้อย ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น เป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ (เหง้า)
  • เหง้าสดนำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะ ใช้กินเป็นยารักษาลำไส้เป็นแผล สมานลำไส้ แก้แผลในกระเพาะ รวมไปถึงอาการปวดท้องบ่อยๆ น้ำย่อยไม่ปกติและโรคลำไส้ต่างๆ (เหง้า)
  • เหง้าสดนำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะ ใช้กินเป็นยาระบายอ่อนๆ (เหง้า)
  • ช่วยขับประจำเดือนของสตรี ด้วยการใช้เหง้านำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วนำมาใช้กินเป็นยา (เหง้า)